(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปความรู้จากการดูคลิป การสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

                                   

 สรุปความรู้จากการดูคลิป การสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
    โรงเรียนวัดมงกุฏกษัตริยาราม
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน สาดสีสุดสนุก

สนทนากับเด็กๆเกี่ยวกับสี และถามเด็กๆว่า พืชผักชนิดใดสามารถเอามาทำสีได้บ้าง หลังจากนั้นครูก็นำกะหล่ำปลีสีม่วงมาให้เด็กๆดู แล้วถามเด็กๆว่า ถ้าเราอยากจะได้สีจาก กะหล่ำปลีเราจะมีวิธีไหนที่จะได้สีบ้าง
อุปกณ์
1.               1. กะหล่ำปลีสีม่วง
2.               2. น้ำเปล่า
3.               3. น้ำมะนาว
4.               4. โซดา
วิธีการสอน
ให้เด็กหั่นกะหล่ำปลีสีม่วงเป็นชิ้นเล็กๆ ครูนำน้ำ ใส่แก้วมา 2 แก้ว โดยแก้วที่ 1 ใส่น้ำร้อน แล้วที่ 2 ใส่น้ำเย็น  ให้เด็กนำกะหล่ำปลีสีม่วงใส่ลงไปในน้ำ ทั้ง  2 แก้ว แล้วให้เด็กสังเกตว่า เกิดอะไรขึ้นกับน้ำทั้ง 2 แก้ว โดยเด็กๆก็จะสังเกตได้ว่า กะหล่ำปลีสีม่วงที่ใส่ในน้ำร้อน จะมีสีม่วงเร็วกว่า กะหล่ำปลีที่ใส่ในน้ำเย็น หลังจากนั้น ครูก็จะนำกะหล่ำปลีสีม่วงที่หั่นไปต้ม กับน้ำเดือด แล้วนำมาให้เด็กดู โดยน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงที่นำไปต้นมาแล้วจะมีสีม่วงเข้ม ต่อมาครูเตรียมกะหล่ำปลีม่วงที่ต้มแล้ว มาแบ่งใส่แก้ว 4 แก้ว แล้วให้เด็กๆนำน้ำมะนาวหยดใส่ลงไปในน้ำ กะหล่ำปลีสีม่วงแก้วที่ 2 แล้วนำน้ำโซดาหยดลงไปในน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงแก้วที่ 3 แล้วให้เด็กๆใช้หลอดช่วยกันเป่าน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงแก้วที่ 4  แล้วให้เด็กๆสังเกต น้ำกะหล่ำปลีสีม่วงทั้ง 4 แก้วว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
                สรุปได้ว่า ที่น้ำกะหล่ำปลีสีม่วงเปลี่ยนสีได้นั้นเป็นเพราะในกะหล่ำปลีสีม่วงมีสารพิเศษชื่อว่า แอนโทไซยานิน เราสามารถมาพบสารสีนี้ได้ในผักชนิดต่างๆ เช่น ดอกกระเจี๊ยบ ดอกอัญชัญ องุ่นดำ หรือ บัทรูท เมื่อนำน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงที่มีสีน้ำเงิน ฟ้าคราม มาทดสอบกับน้ำมะนาวที่มีค่าเป็นกรดน้ำสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง และเมื่อทดสอบกับน้ำโซดา หรือลมหายใจที่มีความเป็นกรดน้อยกว่าน้ำมะนาวก็จะได้สีม่วงหรือม่วงออกแดงเล็กน้อย ในพืชผักหลายชนิดมีสีที่เรานำมาผสมอาหารหรือขนมต่างๆได้ เช่นสีเขียวของใบเตยที่นำมาผสมในลอดช่องหรือขนมชั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น