(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 15

Study Notes 15
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
November 27, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.
content เนื้อหา
วันนี้ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ บทวิจัย และ VDO เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิจัยเรื่องที่ 1 การสร้างชุดกิจกรรม เพื่อทักษะกระบวนการทางวิทยาสาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การจำแนก การวัด และการหามิติสัมพันธ์

            วิจัยเรื่องที่ 2 ผลการจัดประสบการณ์ หน่วยเน้นวิยาสาสตร์นอกชั้นเรียน
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การประมาณ และการเปลี่ยนแปลง

            วิจัยเรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การจำแนก การจัดประเภท และอนุกรม

            วิจัยเรื่องที่ 4 ผลของกิจกรรมการทดลอง (กิจกรรมเกี่ยวกับพืชต้องการแสงแดด)   
ทักษะทางวิทยาสาสตร์ ที่ได้รับจากวิจัยเรื่องนี้คือ การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย การหามิติสัมพันธ์  และการลงความเห็น

Teaching methods (วิธีการสอน)
          - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
          - การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
          - การนำเสนอ
          - การสอนโดยใช้คำถาม
          - การสอนแบบอภิปราย
          - เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และฝึกการกล้าแสดงออกจริง
          - การสอนแบบกระบวนการคิด
          - การสอนแบบแก้ปัญหา
      Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. หารใช้คำสำคัญเพื่อหาบท วิจัยได้ง่ายขั้น
2. การนำวิจัยมาเป็นแบบอย่างในการวิจัยชั้นเรียนในอนาคต
3. การนำเครื่องมอการวิจัยไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
4. การที่เราได้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำใก้เราฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น 
      Evaluation (การประเมินผล)
      ตนเอง  แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนๆและมีการจดบันทึกระหว่างเรียน
      เพื่อน เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังการนำเสนอบทวิจัยของเพื่อน และมีการตอบคำถามในชั้นเรียน อย่างดี
      ผู้สอน หลังจากที่เพื่อนได้นำเสนอบทวิจัย อาจารย์ก็จะขยายความรู้ของวิจัยแต่ละเรื่องให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อธิบายให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น  และพูดซ้ำๆเพื่อให้นักศึกษาจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น







สรุปบทวิจัย

สรุปบทวิจัย
การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย  อภิญญา มนูญศิลป์

ผู้วิจัยสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกตและการจำแนกประเภท โดยใช้วิธีกรจัดประสบการณ์ ทางวิทยาศาสตร์แบบไม่เป็นทางการ โดยใช้เด็กหญิง – ชาย อายุ 4-5 ปี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 ของโรงเรียน สาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยก่อนการทดลองผู้วิจัยได้ทำการปฐมนิเทศเด็กเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่จัดไว้รวมทั้งข้อตกลงและกติกาในการปฏิบัติกิจกรรม หลังจากนั้นผู้วิจัยจะนำเด็กไปยังสนามเด็กเล่น ชี้แจงและแนะนำเครื่องเล่นสนาม ชนิดต่างๆ ที่เล่นน้ำ บ่อทราย มุมช่างไม้ ร่วมทั้งเครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ที่เด็กจะได้ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรม และให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจดรรมการเลานอย่างอิสระตามความสนใจและหมุนเวียนการเล่นไปเรื่อยๆ ตามความพอใจ โดยปฏิบัติตามข้อตกลงและกติกาในการเล่น ผู้วิจัยสังเกตดูความปลอดภัยในขณะที่เด็กเล่นและกระตุ้นให้เด็กได้ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในการเล่นให้มากที่สุด หากเด็กคนใดต้องการความช่วยเหลือก็จะให้ตำแนะนำและช่วยเหลือตามที่ต้องการ และให้เด็กเก็บวัสดุอุปกรณ์เมื่อเสร็จกิจกรรมหรือเมื่อหมดเวลาการทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 50 นาที รวมจำนวน 18 ครั้ง ใช้เวลาในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง โดยการประเมิน จะสังเกตความสนใจของเด็กในขณะปฏิบัติกิจกรรม และสังเกตการณ์ปฏิบัติตนขณะปฏิบัติกิจกรรม ซึ้งการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ การเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมบล็อกไม้ เป็นกิจกรรมการเล่นที่เปิดโอกาสให้เด็กในกลุ่มทดลองได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองอย่างอิสระโดยใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจค้นหา ได้สังเกต ได้ทดลอง ได้ค้นหา ได้เปรียบเทียบ ได้ลงมือคิดค้นหาความรู้ใหม่ๆ มีอิสระในการเคลื่อนไหว ได้สัมผัสกับวัสดุมากมาย ได้ฟัง ไดพูด ได้เสนอความคิดเห็น ได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน และปฏิสัมพันธ์กับคนและสิ่งของ ซึ้งจะทำให้เกิดความรู้และทักษะในการค้นหาความรู้ไปพร้อมๆกัน

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 14

Study Notes 14
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
November 20, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content เนื้อหา

           - ส่งสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ แล้วแยกตามหมวดหมู่ ดังนี้ แสง เสียง ลม น้ำ พลังงาน สื่อตามมุม

เรื่อง ลม
         

เรื่อง เสียง


เรื่อง พลังงาน


เรื่อง แสง


เรื่อง น้ำ


สื่อเข้ามุม



   - เพื่อนนำเสนอบทความ
วิจัยเรื่องที่ 1 การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  ผู้วิจัย ณัฐชุดา   สาครเจริญ ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.ชนากานต์   มีดวง

วิจัยเรื่องที่ 2 ผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัย พีระพร   รัตนาเกียรติ์  ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.สุธิดา   คุณโตนด
      
วิจัยเรื่องที่ 3 ผลของจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย  ผู้นำเสนอบทวิจัย น.ส.สุดารัตน์   สุทธิผล



                                                      การทำขนมวัฟเฟิล





ส่วนผสมและอุปกรณ์




                               ส่วนผสม
                   1. แป้ง               200 กรัม
                   2. น้ำ                 120 กรัม
                   3. ไข่ไก่                 1 ฟอง
                   4. เนย
                              อุปกรณ์
                   1. ถ้วยผสม
                   2. ที่ตีไข่
                   3. ช้อน
                   4. พิมพ์วาฟเฟิล
                   5. จานสำหรับใส่วัฟเฟิล



ขั้นตอนการทำวาฟเฟิล





ขั้นตอนการทำวาฟเฟิล
1. นำไข่ไก่ น้ำและแป้งใส่ภาชนะผสม แล้วตีส่วนผสมให้เข้ากัน
2. หยอดแป้งลงบนพิมพ์วาฟเฟิลที่ทาเลยและร้อนดีแล้วจนเต็มพิมพ์
3. หลังจากนั้น อบประมาณ 3 – 4 นาที

Teaching methods (วิธีการสอน)
          - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
          - การสรุปความรู้ด้วยเครื่องมือ
          - การนำเสนอ
          - การสอนโดยใช้คำถาม
          - การสอนแบบอภิปราย
          - ลงมือปฏิบัติ
          เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น และฝึกการกล้าแสดงออกจริง
          - การสอนแบบกระบวนการคิด
          - การสอนแบบแก้ปัญหา

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. ได้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และ ได้รู้จักการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ.
2. ได้ฝึกการแสดงความคิดเห็น และฝึกการเค้ารพความคิดเห็นของผู้อื่น
3. สามารถนำไปสอนเด็กได้เนื้อจากเป็นกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติเอง จำทำให้เด็กมีความสนใจและเกิดการเรียนรู้มากขึ้น
4. สามารถนำความรู้ของบทวิจัยไปปรับใช้กับการสอนในอนาคตได้

Evaluation (การประเมินผล)
            ตนเอง - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ ตั้งใจเรียน จดบันทึกเนื้อหาโดยสรุป ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน
           เพื่อน - เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีความร่วมมือในการเรียนรู้และทดลอง และจดบันทึกเนื้อหาโดยสรุป มีความสนใจในการสอนของอาจารย์ และร่วมกันกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน
           ผู้สอน เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้ข้อเสนอแนะในการ และแนวทางในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก มีการสอนที่สนุกสนานเป็นกันเอง ไม่ดูเครียดจนเกินไป มีความพร้อมด้านสื่อการสอนต่างๆมาก  



                                               

บทความเรื่องสอนลูกเรื่องพืช

บทความเรื่องสอนลูกเรื่องพืช

กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับพืชที่ครูจัดให้กับเด็กที่โรงเรียน มีตัวอย่างบางส่วน ดังนี้
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในหน่วยดอกไม้ ครูอาจแจกดอกไม้สีต่างๆให้กับเด็ก เปิดเพลงแล้วให้เด็กเคลื่อนไหวตามจินตนาการพร้อมกับดอกไม้ที่อยู่ในมือ เมื่อได้ยินเสียงเพลงหยุด เด็กวิ่งไปจับกลุ่มตามสีของดอกไม้
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ในหน่วยผัก ครูอาจแบ่งเด็กเป็นกลุ่ม เพื่อร่วมกันเรียนรู้การปลูกผัก โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ให้เด็กพัฒนาทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยช่วยกันเลือกผักที่สามารถเพาะได้ง่ายและใช้ระยะเวลาไม่นานในการเก็บผลผลิต วางแผนเตรียมแปลงเพาะปลูก การเพาะเมล็ดพืชลงในแปลง การบำรุงดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน และการเก็บผลผลิต ซึ่งในขั้นนี้ครูจะกระตุ้นโดยใช้คำถามให้เด็กได้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะทั้งทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะทางสังคม
กิจกรรมสร้างสรรค์ ครูอาจให้เด็กพิมพ์ภาพจากใบไม้ชนิดต่างๆ ฉีกปะกระดาษเป็นรูปใบไม้-ดอกไม้ วาดภาพระบายสีต้นไม้/ดอกไม้ที่ชอบ ปั้นแป้งเป็นดอกไม้ ร้อยดอกไม้ งานประดิษฐ์จากเศษใบไม้ กิ่งไม้ ฯลฯ
กิจกรรมเสรี ครูอาจจะนำดอกไม้ ผัก ผลไม้ หรือต้นไม้ขนาดเล็กมาวางไว้ให้เด็กได้เล่นบทบาทสมมติเป็นพ่อค้าแม่ค้าในร้านค้า ให้เด็กได้เล่นการขายของ การปรุงอาหารจำลอง และการแสดงบทบาทสมมติ เป็นการพัฒนาทางด้านภาษาและด้านการคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก
กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง ครูจัดให้เด็กแข่งขันวิ่งเก็บผักลงในตะกร้า เช่น วิ่งเก็บแตงกวา โดยแบ่งเด็กออกเป็น 2 ทีมจำนวนเท่าๆกัน ผลัดกันวิ่งไปหยิบแตงกวาที่อยู่ห่างไปประมาณ 5 เมตร มาใส่ลงในตะกร้า ทีมที่วิ่งเก็บแตงกวาใส่ลงในตะกร้าได้หมดก่อนถือว่าชนะ กิจกรรมนี้ส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อใหญ่ การทรงตัวและทำให้เด็กสนุกสนาน ผ่อนคลายอารมณ์

เกมการศึกษา ครูจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องพืชผ่านการเล่นเกมที่ครูจัดทำขึ้น เช่น เกมต่อภาพผักและผลไม้ เกมจับ คู่ภาพผักกับบัตรคำ เกมจับคู่ภาพผักกับเงา เกมเรียงลำดับจำนวนผลไม้ เกมจับคู่ภาพผักกับตัวเลข เกมอนุกรมผักและผลไม้ เป็นต้น เพื่อช่วยพัฒนาเด็กทางด้านการคิด ความมีเหตุผลและความสามารถทางด้านสติปัญญา รวมถึงพื้นฐานที่จำเป็น เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มิติสัมพันธ์
สอนลูกเรื่องพืช (ข้อมูลเพิ่มเติม)


วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 13

Study Notes 13
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
November 13, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content เนื้อหา

สรุป หลังจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษากับเด็กทำให้เด็กเกิดทักษะการสังเกตที่ดีขึ้น
สรุป เป็นการเล่านิทานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เด็กฟัง เมื่อเด็กๆได้ฟังนิทานจบแล้ว ครูก็จะให้เด็กทำการทดลองตามนิทานที่เด็กได้ฟังมา
            สรุป  นำเด็กปฐมวัยมาทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบ 8 สัปดาห์ เมื่อทดลองเสร็จ นำแบบทดสอบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย นำมาทดสอบซ้ำอีกครั้งแล้วนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปวิเคราะห์ข้อมูล
สรุป เมื่อเด็กไดทำกิจกรรมเด็กทำให้เด็กมีทักษะการสังเกต การจำแนก มิติสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็นมากขึ้น
            สรุป เปิดโอกาสให้เด็กลงมือปฏิบัติ โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วนำแป้งโดมาเล่น ซึ่งตรงกับการสอนแบบ learning by doing
สรุป จากการทำการวิจัย จะพบว่าเด็กมีความคิดวิจารณญาณมากขึ้นกว่าก่อนจัดกิจกรรม
            สรุป เป็นการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แก่เด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมแล้ว เด็กมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกัน

Teaching methods (วิธีการสอน)
                - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
                - สรุปความรู้ด้วนตนเอง
                - การสอนโดยใช้คำถาม
                - การนำเสนอ
                - สอนกระบวนการคิด
                - สอนแบบแก้ปัญหา

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

1.   สามารถนำความรู้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มาสอนเด็กได้อย่างหลากหลาย
2.   สามารถนำสิ่งของเหลือใช้รอบตัวมาใช้ในการประดิษฐ์ หรือทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ได้
3.   สามารถนำกิจกรรมจากการวิจัยมาต่อยอดเพื่อจัดกิจกรรมเสริมความรู้กับเด็กปฐมวัยได้
4.   การอ่านวิจัยเยอะ จะทำให้เรามีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับปัญหาของเด็กมากขึ้น แล้วนำมาซึ่งการแก้ปัญหาในอนาคตได้

Evaluation (การประเมินผล)

           ตนเอง  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ และมีการจดบันทึกเนื้อหา
            เพื่อน  เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  และมีการแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์
            อาจารย์  อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่กายถูกระเบียบ
พูดชัดถ้อยชัดคำ และสอนให้นักศึกษาคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

สรุปความรู้จากการดูคลิป การสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

                                   

 สรุปความรู้จากการดูคลิป การสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
    โรงเรียนวัดมงกุฏกษัตริยาราม
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน สาดสีสุดสนุก

สนทนากับเด็กๆเกี่ยวกับสี และถามเด็กๆว่า พืชผักชนิดใดสามารถเอามาทำสีได้บ้าง หลังจากนั้นครูก็นำกะหล่ำปลีสีม่วงมาให้เด็กๆดู แล้วถามเด็กๆว่า ถ้าเราอยากจะได้สีจาก กะหล่ำปลีเราจะมีวิธีไหนที่จะได้สีบ้าง
อุปกณ์
1.               1. กะหล่ำปลีสีม่วง
2.               2. น้ำเปล่า
3.               3. น้ำมะนาว
4.               4. โซดา
วิธีการสอน
ให้เด็กหั่นกะหล่ำปลีสีม่วงเป็นชิ้นเล็กๆ ครูนำน้ำ ใส่แก้วมา 2 แก้ว โดยแก้วที่ 1 ใส่น้ำร้อน แล้วที่ 2 ใส่น้ำเย็น  ให้เด็กนำกะหล่ำปลีสีม่วงใส่ลงไปในน้ำ ทั้ง  2 แก้ว แล้วให้เด็กสังเกตว่า เกิดอะไรขึ้นกับน้ำทั้ง 2 แก้ว โดยเด็กๆก็จะสังเกตได้ว่า กะหล่ำปลีสีม่วงที่ใส่ในน้ำร้อน จะมีสีม่วงเร็วกว่า กะหล่ำปลีที่ใส่ในน้ำเย็น หลังจากนั้น ครูก็จะนำกะหล่ำปลีสีม่วงที่หั่นไปต้ม กับน้ำเดือด แล้วนำมาให้เด็กดู โดยน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงที่นำไปต้นมาแล้วจะมีสีม่วงเข้ม ต่อมาครูเตรียมกะหล่ำปลีม่วงที่ต้มแล้ว มาแบ่งใส่แก้ว 4 แก้ว แล้วให้เด็กๆนำน้ำมะนาวหยดใส่ลงไปในน้ำ กะหล่ำปลีสีม่วงแก้วที่ 2 แล้วนำน้ำโซดาหยดลงไปในน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงแก้วที่ 3 แล้วให้เด็กๆใช้หลอดช่วยกันเป่าน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงแก้วที่ 4  แล้วให้เด็กๆสังเกต น้ำกะหล่ำปลีสีม่วงทั้ง 4 แก้วว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
                สรุปได้ว่า ที่น้ำกะหล่ำปลีสีม่วงเปลี่ยนสีได้นั้นเป็นเพราะในกะหล่ำปลีสีม่วงมีสารพิเศษชื่อว่า แอนโทไซยานิน เราสามารถมาพบสารสีนี้ได้ในผักชนิดต่างๆ เช่น ดอกกระเจี๊ยบ ดอกอัญชัญ องุ่นดำ หรือ บัทรูท เมื่อนำน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงที่มีสีน้ำเงิน ฟ้าคราม มาทดสอบกับน้ำมะนาวที่มีค่าเป็นกรดน้ำสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง และเมื่อทดสอบกับน้ำโซดา หรือลมหายใจที่มีความเป็นกรดน้อยกว่าน้ำมะนาวก็จะได้สีม่วงหรือม่วงออกแดงเล็กน้อย ในพืชผักหลายชนิดมีสีที่เรานำมาผสมอาหารหรือขนมต่างๆได้ เช่นสีเขียวของใบเตยที่นำมาผสมในลอดช่องหรือขนมชั้น

ข้อมูลเพิ่มเติม


วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Study Notes 12

Study Notes 12
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
November 6, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


content (เนื้อหา) 


                แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนของตนเองตามหน่วยที่แต่ละกลุ่มได้วางแผนกันไว้ กลุ่มของดิฉันหน่วยน้ำ กลุ่มที่ 8

กลุ่ม 1 หน่วยกล้วย
                สอนเด็กเรื่องชนิดของกล้วย ดูรูปทรง จำแนกสีเหลืองกับที่ไม่ใช่สีเหลือง จำแนกกล้วยน้ำว้า กับที่ไม่ใช่กล้วยน้ำว้า



กลุ่ม 2 หน่วยไก่
                สอนเรื่องลักษณะของไก่ โดยครูใช้คำถามปลายเปิดถาม เด็กๆเช่น มีสีอะไรบ้าง มีขนาดเท่าไหร่ หรือส่วนประกอบขิงไก่มีอะไรบ้างง เป็นต้น เพื่อให้เด็กสามารถบอกลักษณะ บอกกว่าเปรียบเทียบ ของไก่ได้



กลุ่ม 3 หน่วยกบ
                สอนเรื่องวัฏจักรของกบ โดยเปิดวีดีโอเกี่ยวกับวัฏจักรของกบให้เด็กดูแล้วอาจจะถามเด็กว่าเด็กๆเห็นอะไรจากวีดีโอบ้าง กบมีสีอะไร หรือเด็กๆเคยเห็นกบที่ไหนบ้าง เป็นต้น



กลุ่ม 4 หน่วยปลา
                สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของปลา โดยครูเล่านิทานให้เด็กฟัง แล้วบอกประโยชน์และข้อควรระวังให้เด็กฟัง



กลุ่ม 5 หน่วยข้าว
                สอนโดยทำทาโกยากิให้เด็กดู บอกสวนผสม แล้วให้เด็กช่วยทำ หรือหยิบส่วนผสมด้วย จากนั้นให้ครูและเด้กๆร่วมสรุปกิจกรรมร่วมกัน



กลุ่ม 6 หน่วยตนไม้
                สอนโดยครูให้เด็กๆ แผนภาพ แล้วครูใช้คำถามปลายเปิด โดยใช้เกณฑ์ในการจำแนก เช่น จำแนกต้นเข็ม กับที่ไม่ใช่ตนเข็ม หรือการนับจำนวน และบอกค่ามากกว่า น้อยกว่า เป็นต้น



กลุ่ม 7 หน่วยนม
                สอนเรื่องลักษณะของนม โดยให้เด็กๆทำการทดลองหยดน้ำยาล้างจานลงไปในนม และสีผสมอาหาร



กลุ่ม 8 หน่วยน้ำ
                สอนเรื่องการอนุรักษ์น้ำ โดยครูเล่านิทาน แล้วให้ครูจัดให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์



กลุ่ม 9 หน่วยมะพร้าว
                สอนเรื่องการปลูกต้นมะพร้าว แล้วให้เด็กๆนำแผนภาพมาเรียงลำดับขั้นตอนหารปลูกมะพร้าว



กลุ่ม 10 หน่วยผลไม้
                สอนเด็กทำอาการที่ทำมาจากผลไม้ โดยครุบอกส่วนผสม ขั้นตอนหารทำ และให้เด็กๆได้ลงมือทำอาหาร
ด้วย



Teaching methods (วิธีการสอน)

                - การเรียนรู้ด้วยตนเอง
                - สรุปความรู้ด้วนตนเอง
                - การสอนโดยใช้คำถาม
                - การนำเสนอ
                - ลงมือปฏิบัติจริง
                - สอนกระบวนการคิด
                - สอนแบบแก้ปัญหา

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

1. ทำให้ผู้สอนสอนด้วยความมั่นใจเมื่อเกิดความมั่นใจในการสอนย่อมจะสอนด้วยความแคล่วคล่อง
2. ทำให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร
3. ทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าการสอนที่ไม่มีการวางแผน
4. ทำให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการสอนต่อไป
5. ทำให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและต่อวิชาที่เรียน ทั้งนี้เพราะผู้สอน สอนด้วยความพร้อม

Evaluation (การประเมินผล)

ตนเอง    มาก่อนเวลาเรียน แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย มีการจดบันทึก ถ่ายรูปกิจกรรมต่างๆระหว่างเรียน
เพื่อน     ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายอาจจะมีการคุยดันบ้างเล็กน้อย การจดบันทึก ถ่ายรูปกิจกรรมต่างๆระหว่างเรียน
                  ผู้สอน    อธิบายได้ดีมาก มีการย้ำค
วามจำเพื่อให้เด็กจำได้ และมีการใช้คำถามให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด