(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 6



Study Notes 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 25, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

        
content (เนื้อหา)        
การนำเสนอบทความ
เลขที่ 11 บทความเรื่อง แสงสีกับชีวิตประจำวัน
แม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 แสงสี คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า แสงสีต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงสีทั้งสามนี้ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและความสว่างแก่โลก แต่ที่เรามองไม่เห็นแสงสีของอาทิตย์เพราะว่า แสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นแสงขาว ที่เรียกแสงขาวก็เพราะแสงอาทิตย์ไปกระทบกับฉากสีขาวก็จะเป็นสีขาวนั่นเอง ขณะที่แสงสีแดงตกกระทบฉากสีขาว เราจะมองเห็นเป็นสีแดง เราก็เรียกแสงสีแดง แต่ถ้าเราเอาแสงสีเขียวและแสงสีแดงปริมาณเท่าๆกันไปฉายผสมกันในจอสีขาวเราจะมองเห็นเป็นสีเหลือง หมายความว่า แสงสีเหลืองที่เราเห็นเกิดจากการรวมกันของแสงสีแดงและแสงสีเขียวในปริมาณที่เท่ากัน

เลขที่ 12 บทความเรื่อง เงามหัศจรรย์ต่อสมอง
            เงา เป็นพื้นที่ซึ่งแสงจากแหล่งกำเนิดแสงถูกวัตถุหนึ่งบัง เงากินพื้นที่ทั้งหมดหลังวัตถุทึบแสงเมื่อมีแสงอยู่ด้านหน้า ภาคตัดขวางของเงาเป็นภาพเงาทึบสองมิติ หรือภาพฉายย้อนกลับของวัตถุที่บังแสง แสงอาทิตย์ทำให้วัตถุเกิดเงาในเวลาหนึ่ง ของวัน มุมของดวงอาทิตย์หรือความสูงปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าทำให้ความยาวของเงาเปลี่ยนแปลง มุมที่น้อยลงก่อให้เกิดเงาที่ยาวขึ้น

เลขที่ 13 บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องอนุลักษณ์สิ่งแวดล้อม
            ครูมีเป้าหมายของการที่จะมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เด็กได้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นที่ที่เราอยู่ จะมีสิ่งต่างๆที่เกี่ยวพันเชื่อม โยงกับตัวเรา ได้แก่ คน พืช สัตว์ อากาศ น้ำ สภาพอากาศ หิน ดิน เป็นต้น เราจึงต้องเรียนและทำความเข้าใจสิ่งเหล่านั้น รวม ทั้งเข้าใจตัวเราเองด้วย เพื่อให้เราอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้ และจะต้องช่วยกันทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่อย่างยั่งยืนด้วยการอนุรักษ์ คือการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
-       กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูอาจนำเด็กไปแหล่งน้ำเพื่อให้รู้จัก ไปที่ทุ่งดอกไม้ในท้องถิ่นที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้
-       กิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้สีจากดิน ใบไม้ ดอกไม้ วาดภาพ
-       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะใช้กิ่งไม้หรือก้อนหินเป็นเครื่องเคาะจังหวะ ใช้ใบไม้ ดอกไม้ เป็นอุปกรณ์ประ กอบการเคลื่อนไหว เด็กๆชอบที่จะทำท่าทางเลียนแบบการโยกไหวเอนของต้นไม้ 

เลขที่ 14 บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

เลขที่ 15 บทความเรื่อง การทดลองวิทาศาสตร์
            การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภท
1.            ทักษะการสังเกต
2.            ทักษะการวัด
3.            ทักษะการจำแนกประเภท
4.            ทักษะการสื่อสาร
5.            ทักษะการลงความเห็น
6.            ทักษะการพยากรณ์



Activities (กิจกรรม)
          อาจารย์ได้แจกกระดาษแล้วให้นักศึกษาตัดแบ่งเพื่อให้นักศึกษาทำการทดลอง
อุปกรณ์
-         กระดาษ
-         กรรไกร
-         คลิปหนีบกระดาษ


ขั้นตอนการทำ

1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม



2. พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน



3. แล้วตัดกระดาษตามภาพ





4. พับกระดาษข้างล่างขึ้น ประมาณครึ่งเซนติเมตร

5. ใช่คลิปหนีบกระดาษนำมาติดไว้ตรงที่พับ



สาเหตุที่ต้องตัดกระดาษ ตรงกลางไม่เท่ากันเนื่องจาก จะได้เห็นความแตกต่างของการทดลองแต่ละแบบได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งในการทดลอง เราจะนำกระดาษทั้ง 2 แบบมาโยนพร้อมกัน จะเห็นได้ว่า กระดาษที่ตัดสั้นจะหมุดแล้วตกลงบนพื้นเร็วกว่า กระดาษที่ตัดแบบยาวๆ

หลังจากนั้นอาจารย์ให้ส่งงานกลุ่ม การจัดหน่วยการเรียนการสอนเป็นแบบ mild map






กลุ่มของดิฉันทำเรื่อง  "น้ำ"






 Teaching methods (วิธีการสอน)
สอนแบบใช้คำถาม อาจารย์จะถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและวิเคราะห์
 Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
-         สามารถนำกิจกรรมไปสอนเด็กๆได้ เพื่อนให้เด็กรู้เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์มากขึ้น
-         ความรู้ในเรื่องบทความ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กได้
-         การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้ฝึกทดลองสิ่งต่างๆ จะทำให้เรามีประสบการณ์ ต่างๆมากขึ้น
-         ได้รู้ว่า การสร้างหน่วยการเรียน ควรมีหัวข้ออะไรบ้าง เพื่อพัฒนาให้เด็ก ได้มีความรู้อย่าสมบูรณ์
        Evaluation (การประเมินผล)
        ตนเอง     มาก่อนเวลาเรียนทุกครั้ง ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย
        เพื่อน      ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายอาจจะมีการคุยดันบ้างเล็กน้อย
        อาจารย์   อธิบายได้ดีมาก มีการย้ำความจำเพื่อให้เด็กจำได้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น