Study Notes 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana suksamran
September 19, 2557
Group 101 (Thursday)
Time 08.30 - 12.20 PM.
content (เนื้อหา)
เพื่อน เลขที่ 6-10 ออกมาพูดบทความ ของตนเอง
เลขที่ 6,7 (ไม่มา)
เลขที่ 8 บทความเรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย
เลขที่ 9 บทความเรื่อง โลกของเราอยู่ได้อย่างไร
เลขที่ 10 บทความเรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
แสงและการมองเห็น
ลำแสง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง
ที่มีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต
แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ
แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ
โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ
การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ
เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง
-
รังสีตก
กระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
-
รังสีสะท้อน
(Reflected Ray) คือ
รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
-
เส้นปกติ
(Normal) คือ
เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
-
มุมตกกระทบ
(Angle of
Incidence) คือ
มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
-
มุมสะท้อน
(Angle of
Reflection) คือ
มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ
กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
-
รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน
และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
-
มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว
ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ
7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม
ภาพแสดงสเปกตรัมของคลื่นแสงขาว
ภาพแสดงการเกิดสเปกตรัมสีรุ้งของแสงเมือลำแสงผ่านปริซึม
สีของแสง
การมองเห็นสีต่าง ๆ
บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว
และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ
และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2
สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ
ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง
ดังภาพ
การเกิดภาพบนกระจกเงาระนาบ
1. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบบานเดียว
เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาระนาบ
เราจะมองเห็นวัตถุเพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตาเรา ส่วนการมองเห็นภาพของวัตถุนั้น
เพราะแสงจากวัตถุไปตกกระทบพื้นผิวกระจกเงาระนาบแล้วสะท้อนมาเข้าตาเราอีกทีหนึ่ง
ภาพที่เกิดขึ้นเรียกว่า ภาพเสมือน
2. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบ 2
บาน วางทำมุมกัน
ถ้านำวัตถุไปวางระหว่างกระจกเงาระนาบสองบานวางทำมุมต่อกัน
ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบบานหนึ่งถ้าอยู่หน้าแนวกระจกเงาระนาบอีกบานหนึ่ง
ภาพนั้นจะทำหน้าที่เป็นวัตถุ ทำให้เกิดการสะท้อนแสงครั้งที่ 2 เกิดภาพที่สองขึ้น
โดยระยะภาพก็ยังคงเท่ากับระยะวัตถุ
และถ้าภาพทั้งสองยังอยู่หน้าแนวกระจกเงาระนาบบานแรกอีก
ภาพนั้นจะทำหน้าที่เป็นวัตถุในการสะท้อนต่อไปอีกกลับไปกลับมาระหว่างกระจกสองบานจนกว่าภาพที่อยู่หลังแนวกระจก
จึงจะไม่มีการสะท้อนทำให้เกิดภาพอีก
การเกิดภาพบนกระจกโค้ง
ชนิดของกระจกโค้ง กระจกโค้งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. กระจกโค้งออกหรือกระจกนูน (Convex
mirror) คือกระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงออยู่ด้านนอกของส่วนโค้ง
ส่วนผิวด้านเว้าถูกฉาบด้วยปรอท
2. กระจกโค้งเข้าหรือกระจกเว้า (Concave
mirror) คือ กระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงอยู่ด้านในของส่วนโค้ง
ส่วนผิวด้านเว้าถูกฉาบด้วยปรอท
จากภาพ จุด C คือ จุดศูนย์กลางของวงกลม
ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางความโค้งของกระจกด้วย
R คือ รัศมีของทรงกลม เรียกว่า รัศมีความโค้งของกระจก
P คือ จุดที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของผิวกระจก เรียกว่า ขั้วกระจก
R คือ รัศมีของทรงกลม เรียกว่า รัศมีความโค้งของกระจก
P คือ จุดที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของผิวกระจก เรียกว่า ขั้วกระจก
การสะท้อนของแสงจากกระจกเงาโค้ง
1. กระจกนูน คือ
กระจกที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่คนละด้านกับจุดศูนย์กลางความโค้ง
2. กระจกเว้า คือ กระจกที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่ด้านเดียวกับจุดศูนย์กลางความโค้ง
3. กระจกนูนเป็นกระจกกระจายแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีแสงจะถ่างออกหรือกระจายออก โดยรังสีแสงขนานสะท้อนในทิศที่เสมือนกับมาจากจุดโฟกัสของกระจกนูน
4. กระจกเว้าเป็นกระจกรวมแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีที่สะท้อนออกจากกระจกจะลู่ไปรวมกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า จุดโฟกัส
2. กระจกเว้า คือ กระจกที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่ด้านเดียวกับจุดศูนย์กลางความโค้ง
3. กระจกนูนเป็นกระจกกระจายแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีแสงจะถ่างออกหรือกระจายออก โดยรังสีแสงขนานสะท้อนในทิศที่เสมือนกับมาจากจุดโฟกัสของกระจกนูน
4. กระจกเว้าเป็นกระจกรวมแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีที่สะท้อนออกจากกระจกจะลู่ไปรวมกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า จุดโฟกัส
ประโยชน์ของกระจกโค้ง
1.กระจกนูน นำมาใช้ประโยชน์โดยติดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อดูรถด้านหลัง
ภาพที่เห็นจะอยู่ในกระจกระยะใกล้กว่า
เนื่องจากกระจกนูนให้ภาพเสมือนหัวตั้งเล็กกว่าวัตถุเสมอ และช่วยให้เห็นมุมมองของภาพกว้างขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้กระจกนูนยังใช้ติดตั้งบริเวณทางเลี้ยว
เพื่อช่วยให้มองเห็นรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมา
2.กระจกเว้า นำมาใช้ประกอบกับกล้องจุลทรรศน์
เพื่อช่วยรวมแสงไปตกที่แผ่นสไลด์ ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
ทำกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทัศน์วิทยุ ทำเตาสุริยะ ทำจานดาวเทียม
เพื่อรับสัญญาณโทรทัศน์ ทำจานรับเรดาร์ นอกจากนี้สมบัติอย่างหนึ่งของกระจกเว้าคือ
เมื่อนำมาส่องดูวัตถุใกล้ๆ โดยให้ระยะวัตถุน้อยกว่าระยะโฟกัสแล้ว จะได้ภาพเสมือน
หัวตั้ง ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ อยู่ข้างหลังกระจก จึงได้นำสมบัติข้อนี้ของกระจกเว้ามาใช้ทำกระจกสำหรับโกนหนวดหรือกระจกแต่งหน้า
และใช้ทำกระจกสำหรับทันตแพทย์ใช้ตรวจฟันคนไข้
ความสว่าง
1. อัตราการให้พลังงานแสงของแหล่งกำเนิดแสง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง
และทำให้เกิดความสว่างบนพื้นที่ที่แสงตกกระทบ วัตถุที่ผลิตแสงได้ด้วยตัวเอง
เรียกว่า แหล่งกำเนิดแสง เช่น ดวงอาทิตย์ เทียนไข และหลอดไฟฟ้า
และปริมาณพลังงานแสงที่ส่องออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงใดๆ ต่อ หนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า
อัตราการให้พลังงานแสงของแหล่งกำเนิดแสง มีหน่วยเป็น ลูเมน
2. ค่าความสว่าง
พลังงานแสงที่ทำให้เกิดความสว่างบนพื้นที่ที่รับแสง
ถ้าพิจารณาพื้นที่ใดๆ ที่รับแสง ความสว่างบนพื้นที่นั้นหาได้จาก
การมองเห็นวัตถุ
เกิดจากการที่แสงไปตกกระทบสิ่งต่างๆ แล้วเกิดการสะท้อนเข้าสู่ตาเรา
และผ่านเข้ามาในลูกตา ไปทำให้เกิดภาพบนจอ (Retina) ที่อยู่ด้านหลังของลูก
ข้อมูลของวัตถุที่มองเห็นจะส่งขึ้นไปสู่สมองตามเส้นประสาท (optic nerve) สมองจะแปลข้อมูลเป็นภาพของวัตถุนั้น
Teaching methods (วิธีการสอน)
- สอนแบบถามตอบ
- สอนแบบบรรยายประกอบภาพ
Applied (การนำไปประยุกต์ใช้)
จากการเรียนรู้เรื่องแสงและการมองเห็นจากการสืบค้นเองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรม และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
จากการเรียนรู้เรื่องแสงและการมองเห็นจากการสืบค้นเองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรม และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
- ได้รู้เรื่องแสงและการมองเห็น - ได้รู้เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ
- สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ
มีความรับผิดชอบดีมาก
ตอบลบ