(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 10

Study Notes 10
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
October 18, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

** วันนี้ วันเสาร์ ที่ 18 ตุลาคม 2557 ได้มีการเรียนชดเชย ของวัน พฤหัสบดี ที่ 23 ตุลาคม 2557 (วันปิยมหาราช) ซึ่งเป็น วันหยุดราชการ **

content (เนื้อหา) 

                การเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้เพื่อนแต่ละกลุ่มล่างแผนการสอน หน่วยการสอนของแต่ละกลุ่ม  กลุ่มของดิฉัน ทำเรื่อง หน่วยน้ำ โดยมีการให้ความรู้เรื่องแผนการสอน ดังนี้





กิจกรรม ขั้นนำ        - เพลง / คำคล้องจอง / ใช้คำถาม / นิทาน / เล่นเกม
               ขั้นสอน     - กิจกรรม
               ขั้นสรุป     - ครูและนักเรียนสรุปองค์ความรู้ ที่ได้จากการทำกิจกรรม

 คุณลักษณะ -  เด็กบอกลักษณะสี รูปทรง /  เด็กเปรียบเทียบลักษณะ / เด็กตอบคำถาม / เด็กร้องเพลง / เด็กวาดรูป / เด็กแสดงให้ดูได้ / เด็กใช้แผนภูมินำเสนอชิ้นงาน  / เด็กสังเกตความเหมือนต่าง

การวัด – เด็กบอกวิธีการดูแล / เด็กร้องเพลง / เด็กเปรียบเทียบสี / ลักษณะ บอกความเหมือนต่างๆ / ใช้เครื่องมือในการ  นำเสนอ

ชนิด
 คณิต – นับและบอกจำนวน / สัญลักษณ์แทนตัวเลข
 ภาษา – สนทนาโต้ตอบ / บอกลักษณะ / ฟังและบอกชนิด / วาดรูป / เล่าเรื่อง
 วิทยาศาสตร์ – สังเกต / บอกชื่อ / บอกรูปร่าง
 เกมการศึกษา – จับคู่ภาพเหมือน
 เคลื่อนไหวและจังหวะ – กิจกรรมกลางแจ้ง
 เล่นเสรี - กิจกรรมตามมุมต่างๆ
 ศิลปะ – เล่าเรื่องวาดภาพ ระบายสี

Teaching methods (วิธีการสอน)
             - การสอนโดยใช้คำถาม
             - สอนแบบกระบวนการคิด
             - การเรียนรู้ด้วยตนเอง

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
1. ทำให้เขียนแผนการสอนเป็น เพื่อนนำไปสอนในอนาคต
2.  ช่วยให้มีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
3.  เข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและประเมินผล
4.  ทำให้เราเห็นวัตถุประสงค์ในการสอนเด็กที่ชัดเจน

Evaluation (การประเมินผล)
            ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกในการฟังที่อาจารย์บรรยาย
เพื่อน มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึก
ผู้สอน อาจารย์สอนอย่างะเอียด มีการพูดซ้ำๆเพื่อให้นักศึกษาจำได้ ถ้าไม่เข้าใจสามารถยกมือถามอาจารย์ได้ แล้วอาจารย์จะให้คำแนะนำเป็นรายกลุ่มอย่างละเอียดอีกครั้ง



วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 9

Study Notes 9
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
October 16, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


content (เนื้อหา) 
วันนี้เพื่อนๆได้มีการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ โดยมีหัวข้อคือ อุปกรณ์ วิธีทำ วิธีการเล่น  และสรุปผลการทดลอง



สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ

สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ของดิฉันคือ "กระป๋องบูมเมอแรง"


อุปกรณ์


1.            น็อต
2.            หนังยาง
3.            กระป๋อง
4.            คลิปหนีบกระดาษ
5.            กระดาษสี (ตกแต่ง)

               วิธีทำ
1. ใช้น็อตที่เป็นตัวถ่วงใส่เข้าไปในยาง ประมาน 5-6 ตัว จากนั้นผูกหนังยาง ตามรูป



2. เจาะรูกระป๋องทั้ง 2 ด้าน



          3. ดัดคลิป ตามรูป


           4.ใส่คลิปที่เป็นด้านตะขอลงไปที่รูของกระป๋อง แล้วนำห่วงหนังยางด้านหนึ่งเกี่ยวไว้แล้วดึงออกมา


          5. เมื่อเกี่ยวคลิปผ่านรูได้ เราก็นำน็อต มาขัดไว้ แล้วทำเช่นนี้อีกครั้งหนึ่งที่ด้านฝาของกระป๋อง (หรืออาจใช้คลิปหนีบกระดาษ ก็ได้ เพื่อความปลอดภัยในการเล่นของเด็ก)



          6. ตกแต่งกระป๋องให้สวยงาม


          สรุปผลการทดลอง
          การที่เรากลิ้งกระป๋องออกไปแต่กระป๋องหมุนกลับมาหาเราได้ เพราะน้ำหนักของ น็อตที่แขวนอยู่ ทำให้มันเหวี่ยงตัวหมุนพันเส้นหนังยางไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหยุด เมื่อพลังงานของการเคลื่อนที่หมดลง กระป๋องจะหยุดนิ่งชั่วขณะ พลังงานที่สะสมไว้ในเส้นหนังยางที่บิดเกลียวอยู่ จะคลายตัวออกปล่อยพลังงานออกมา ทำให้เกิดการหมุนกลับคืนไป กระป๋องจึงกลิ้งกลับไปได้เองหลังจากที่หยุดนิ่ง
           ของเล่นชิ้นนี้อธิบายให้เราทราบถึงพลังงานที่เกี่ยวกับพลังงานที่เคลื่อนที่ของวัตถุที่เรา เรียกว่าพลังงานกล โดยพลังงานกลจะมีอยู่ 2 แบบ คือพลังงานศักย์จะสะสมอยู่ในวัตถุที่ยืดหยุ่นได้ และ พลังงานจลจะเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยกฎของการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานจะไม่สามารถสร้างใหม่หรือสูญหายไปได้ แต่สามารถที่จะโอนถ่ายระหว่างพลังงานด้วยกันหรือเปลี่ยนเป็นรูปของพลังงานอื่นได้
          
          Teaching methods (วิธีการสอน)
                    -   การสอนโดยใช้คำถาม
                      -    สอนกระบวนการคิด
                      -    การนำเสนอ
                      -    การเรียนรู้ด้วยตนเอง
                      -     การสอนโดยใช้คำถาม

         Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

1.      ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
2.    พัฒนาความมั่นใจ  กล้าคิด  กล้าแสดงออก
3.    พัฒนาจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4.    ใช้เป็นของเล่นหรือใช้ตกแต่งห้องได้

          Evaluation (การประเมินผล)
                        ตนเอง แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา มีความพร้อมในการเรียน รีบจัดโต๊ะก่อนอาจารย์เข้าสอน มีการเตรียมการนำเสนอก่อนที่จะออกมานำเสนอ
                        เพื่อน แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่อาจมีเพื่อนบ้างกลุ่มคุยกันเสียงดัง และเพื่อนบางกลุ่มก็มีการจดบันทึกระหว่างเรียน
                        ผู้สอน แต่งกายสุภาพ พูดชัดถ่อยชัดคำ ฟังแล้วเข้าใจง่าย มีการย้ำและทวนความรู้เพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น




Study Notes 8

Study Notes 8
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
October 9, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

**วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการสอบกลางภาค**


วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Study Notes 7

Study Notes 7
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
October 2, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.


content (เนื้อหา) 
บทความ    
เลขที่ 16 บทความเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรื่องวิทยาศาสตร์ เป็ดไก่   click 
เลขที่ 17 บทความเรื่อง จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบสนุกคิดกับสิ่งประดิษฐ์ วิทยาศาสตร์   click
เลขที่ 18 บทความเรื่อง ส่งเริมกระบวนการคิดสำกรับเด็ก   click
เลขที่ 19 บทความเรื่อง ส่งเสริมปรากฏการณ์ธรรมชาติ   click

เลขที่ 20 บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ   click

Activities (กิจกรรม)
การเรียนการอสนวันนี้ อาจารย์ให้ประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์แบบง่ายๆโดยมีอุปกรณ์ และวิธีทำมีดังนี้
อุปกรณ์
1.           แกนกระดาษทิชชู
2.           ที่เจาะกระดาษ
3.           เชือก
4.           กรรไกร
5.           กระดาษ
6.           ดินสอ,สี (ตกแต่ง)
วิธีทำ
1.           นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่ง






2.           นำแกนกระดาษทิชชู มาเจาะรู ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง






3.           นำเชือกมารอยดังภาพ





4.           วาดรูปตกแต่งให้สวยงาม






สรุปเรื่องอากาศ (conclude)
ความหมายของอากาศ
            อากาศ (Air) คือ ของผสมที่เกิดจากก๊าซหลายชนิด อากาศบริสุทธิ์จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส ส่วนผสมสำคัญโดยปริมาตร ได้แก่ ไนโตรเจน จำนวนร้อยละ 78.09 ออกซิเจน ร้อยละ 20.94 ก๊าซเฉื่อย ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซอาร์กอน ร้อยละ0.93 คาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 0.03 และส่วนผสมของก๊าซฮีเลียม ไฮโดรเจน นีออน  คริปตอน ซีนอน โอโซน มีเทน ไอน้ำและสิ่งอื่นรวมกันร้อยละ 0.01




ความสำคัญของอากาศ

1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
            2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ  ทำให้เกิดลมและฝน
            3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
            4. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
            5. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
            6. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน





แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ
1. แหล่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
            1) ระบบการคมนาคมขนส่ง
            2) การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในบ้าน 
            3) โรงงานอุตสาหกรรม
            4) โรงไฟฟ้า 
            5) จากการเผาขยะและสิ่งปฏิกูล ในเขตเทศบาลเมืองใหญ่ 


2. แหล่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติหลายอย่างที่เกิดขึ้น มีส่วนทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้แก่
            1) ภูเขาไฟระเบิด 
            2) อนุภาคมลสารต่าง ๆ จากดิน ลมและพายุ
            3) สารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยผุพัง อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่ถูกทิ้งหรือทับถมกันอยู่ 



การอนุรักษ์ทรัพยากรอากาศ
            1) ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ไม่เผาป่า ฟางข้าว หรือขยะมูลฝอยเพื่อลดปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ แก้ไขรถควันดำ เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอน-มอนอกไซด์ ลดปริมาณขยะ เปียกและการทำให้เกิดการหมักหมม ของซากอินทรียวัตถุซึ่งทำให้เกิดก๊าซมีเทนและไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินความจำเป็นเพราะจะทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ 



            2) ลดปริมาณก๊าซที่ทำลายชั้นโอโซน ตามข้อตกลงของประชาคมโลกใน " พิธีสารมอนทรีออล " ซึ่งระบุว่าแต่ละประเทศจะต้องควบคุมการใช้สารที่มีผลทำลายชั้นโอโซน โดยลดการใช้สารซีเอฟซี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และจะต้องเลิกใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ประเทศไทยได้ตอบสนองข้อตกลงนี้เป็นอย่างดี เช่น กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศฉบับที่ 120 กำหนดมิให้ผู้ใดนำตู้เย็นสำเร็จรูปประเภทที่ใช้ในบ้านเรือน โดยใช้สารซีเอฟซีในกระบวนการผลิตเข้ามาในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2542 เป็นต้น ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมจึงควรให้ความร่วมมือด้วยการเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้สารซีเอฟซีทุกชนิด เช่น โฟม กระป๋องสเปรย์ ครีมโกนหนวด ใช้เครื่องปรับอากาศรถยนต์ที่ใช้สาร R134a แทนซีเอฟซีตลอดจนผลิตสารอื่นเพื่อใช้แทนซีเอฟซี
            3. อนุรักษ์ป่าไม้เพื่อช่วยลดปัญหาอากาศเสียและวาตภัย ทั้งนี้ เพราะต้นไม้จะใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อการสังเคราะห์แสง การมีต้นไม้มากจึงช่วยลดปัญหาภาวะเรือน กระจกที่เกิดจากก๊าซนี้ได้ นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยกรองฝุ่นผงและละอองต่างๆ ที่ทำให้อากาศเสีย รวมทั้งช่วยปะทะและลดความรุนแรงของลมพายุอีกด้วย
          4. ตรวจสอบอากาศเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา การตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อ-เนื่อง เพื่อให้สามารถทราบ และหาทางแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น


Teaching methods (วิธีการสอน)
-                  การสอนโดยใช้คำถาม
-                  การนำเสนอ
-                  การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-                  การได้ลงมือปฏิบัติจริง
-                  การสอนแบบกระบวนการคิด
-                  การสอนแบบการแก้ปัญหา

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
-                  จากการที่เราได้ลงมือประดิษฐ์ ชินงานเอง จำทำให้เราได้รู้ถึงปัญหา และการแก้ปัญหา เพื่อที่จะนำไปสอนเด็กได้อย่าสมบูรณ์ ที่สุด
-                  สามารถนำสิ่งที่อาจารย์สอนเรื่องการพูดไปใช้ในการเป็นครูปฐมวัยได้  เช่นต้องพูดชัดเจน และต้องมีอ้างอิง
-                  สามารถนำสิ่งประดิษฐ์มาปรับใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
-                  สอนเด็กแบบเปิดโอกาสให้เด็กได้รวมแสดงความคิดเห็น จัดการเรียนการสอนให้เด็กๆสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง และให้เด็กได้เรียนรู้ลงมือทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

Evaluation (การประเมินผล)
            ตนเอง  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ และมีการจดบันทึกเนื้อหา
            เพื่อน  เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ  และมีการแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์
            อาจารย์  อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่กายถูกระเบียบ
พูดชัดถ้อยชัดคำ และสอนให้นักศึกษาคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น