(^_^) Welcome to the blog of Ms.Sralchana Songroop (^_^)

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 6



Study Notes 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 25, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

        
content (เนื้อหา)        
การนำเสนอบทความ
เลขที่ 11 บทความเรื่อง แสงสีกับชีวิตประจำวัน
แม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 แสงสี คือแสงสีแดง แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า แสงสีต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนั้นเกิดจากการผสมกันของแสงสีทั้งสามนี้ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและความสว่างแก่โลก แต่ที่เรามองไม่เห็นแสงสีของอาทิตย์เพราะว่า แสงสีที่มาจากดวงอาทิตย์นั้นเป็นแสงขาว ที่เรียกแสงขาวก็เพราะแสงอาทิตย์ไปกระทบกับฉากสีขาวก็จะเป็นสีขาวนั่นเอง ขณะที่แสงสีแดงตกกระทบฉากสีขาว เราจะมองเห็นเป็นสีแดง เราก็เรียกแสงสีแดง แต่ถ้าเราเอาแสงสีเขียวและแสงสีแดงปริมาณเท่าๆกันไปฉายผสมกันในจอสีขาวเราจะมองเห็นเป็นสีเหลือง หมายความว่า แสงสีเหลืองที่เราเห็นเกิดจากการรวมกันของแสงสีแดงและแสงสีเขียวในปริมาณที่เท่ากัน

เลขที่ 12 บทความเรื่อง เงามหัศจรรย์ต่อสมอง
            เงา เป็นพื้นที่ซึ่งแสงจากแหล่งกำเนิดแสงถูกวัตถุหนึ่งบัง เงากินพื้นที่ทั้งหมดหลังวัตถุทึบแสงเมื่อมีแสงอยู่ด้านหน้า ภาคตัดขวางของเงาเป็นภาพเงาทึบสองมิติ หรือภาพฉายย้อนกลับของวัตถุที่บังแสง แสงอาทิตย์ทำให้วัตถุเกิดเงาในเวลาหนึ่ง ของวัน มุมของดวงอาทิตย์หรือความสูงปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าทำให้ความยาวของเงาเปลี่ยนแปลง มุมที่น้อยลงก่อให้เกิดเงาที่ยาวขึ้น

เลขที่ 13 บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องอนุลักษณ์สิ่งแวดล้อม
            ครูมีเป้าหมายของการที่จะมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เด็กได้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นที่ที่เราอยู่ จะมีสิ่งต่างๆที่เกี่ยวพันเชื่อม โยงกับตัวเรา ได้แก่ คน พืช สัตว์ อากาศ น้ำ สภาพอากาศ หิน ดิน เป็นต้น เราจึงต้องเรียนและทำความเข้าใจสิ่งเหล่านั้น รวม ทั้งเข้าใจตัวเราเองด้วย เพื่อให้เราอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้ และจะต้องช่วยกันทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่อย่างยั่งยืนด้วยการอนุรักษ์ คือการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
-       กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูอาจนำเด็กไปแหล่งน้ำเพื่อให้รู้จัก ไปที่ทุ่งดอกไม้ในท้องถิ่นที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้
-       กิจกรรมสร้างสรรค์ ใช้สีจากดิน ใบไม้ ดอกไม้ วาดภาพ
-       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะใช้กิ่งไม้หรือก้อนหินเป็นเครื่องเคาะจังหวะ ใช้ใบไม้ ดอกไม้ เป็นอุปกรณ์ประ กอบการเคลื่อนไหว เด็กๆชอบที่จะทำท่าทางเลียนแบบการโยกไหวเอนของต้นไม้ 

เลขที่ 14 บทความเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

เลขที่ 15 บทความเรื่อง การทดลองวิทาศาสตร์
            การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภท
1.            ทักษะการสังเกต
2.            ทักษะการวัด
3.            ทักษะการจำแนกประเภท
4.            ทักษะการสื่อสาร
5.            ทักษะการลงความเห็น
6.            ทักษะการพยากรณ์



Activities (กิจกรรม)
          อาจารย์ได้แจกกระดาษแล้วให้นักศึกษาตัดแบ่งเพื่อให้นักศึกษาทำการทดลอง
อุปกรณ์
-         กระดาษ
-         กรรไกร
-         คลิปหนีบกระดาษ


ขั้นตอนการทำ

1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม



2. พับครึ่งกระดาษให้เท่ากัน



3. แล้วตัดกระดาษตามภาพ





4. พับกระดาษข้างล่างขึ้น ประมาณครึ่งเซนติเมตร

5. ใช่คลิปหนีบกระดาษนำมาติดไว้ตรงที่พับ



สาเหตุที่ต้องตัดกระดาษ ตรงกลางไม่เท่ากันเนื่องจาก จะได้เห็นความแตกต่างของการทดลองแต่ละแบบได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งในการทดลอง เราจะนำกระดาษทั้ง 2 แบบมาโยนพร้อมกัน จะเห็นได้ว่า กระดาษที่ตัดสั้นจะหมุดแล้วตกลงบนพื้นเร็วกว่า กระดาษที่ตัดแบบยาวๆ

หลังจากนั้นอาจารย์ให้ส่งงานกลุ่ม การจัดหน่วยการเรียนการสอนเป็นแบบ mild map






กลุ่มของดิฉันทำเรื่อง  "น้ำ"






 Teaching methods (วิธีการสอน)
สอนแบบใช้คำถาม อาจารย์จะถามเพื่อให้นักศึกษาตอบเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและวิเคราะห์
 Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
-         สามารถนำกิจกรรมไปสอนเด็กๆได้ เพื่อนให้เด็กรู้เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์มากขึ้น
-         ความรู้ในเรื่องบทความ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กได้
-         การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้ฝึกทดลองสิ่งต่างๆ จะทำให้เรามีประสบการณ์ ต่างๆมากขึ้น
-         ได้รู้ว่า การสร้างหน่วยการเรียน ควรมีหัวข้ออะไรบ้าง เพื่อพัฒนาให้เด็ก ได้มีความรู้อย่าสมบูรณ์
        Evaluation (การประเมินผล)
        ตนเอง     มาก่อนเวลาเรียนทุกครั้ง ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย
        เพื่อน      ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายอาจจะมีการคุยดันบ้างเล็กน้อย
        อาจารย์   อธิบายได้ดีมาก มีการย้ำความจำเพื่อให้เด็กจำได้




วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 5


Study Notes 5
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 19, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.

content (เนื้อหา)


เพื่อน เลขที่ 6-10 ออกมาพูดบทความ ของตนเอง 
          เลขที่ 6,7 (ไม่มา)          
          เลขที่ 8 บทความเรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย
          เลขที่ 9 บทความเรื่อง โลกของเราอยู่ได้อย่างไร
          เลขที่ 10 บทความเรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์

แสงและการมองเห็น

ลำแสง

แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ที่มีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ

การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ

เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง



-     รังสีตก กระทบ (Incident Ray)   คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
-     รังสีสะท้อน (Reflected Ray)   คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
-     เส้นปกติ (Normal)   คือ เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
-     มุมตกกระทบ (Angle of Incidence)   คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
-     มุมสะท้อน (Angle of Reflection)   คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

 กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้

-     รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
-     มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ

สเปกตรัมของแสง


แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ 7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม


ภาพแสดงสเปกตรัมของคลื่นแสงขาว


ภาพแสดงการเกิดสเปกตรัมสีรุ้งของแสงเมือลำแสงผ่านปริซึม


สีของแสง

           การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง ดังภาพ


          เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งแสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยย์ตาของเรา และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดงจะสะท้อนแสงสีอดงออกไปมากที่สุด มีแสงข้าวเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดุดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังภาพ


การเกิดภาพบนกระจกเงาระนาบ


1. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบบานเดียว



เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาระนาบ เราจะมองเห็นวัตถุเพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตาเรา ส่วนการมองเห็นภาพของวัตถุนั้น เพราะแสงจากวัตถุไปตกกระทบพื้นผิวกระจกเงาระนาบแล้วสะท้อนมาเข้าตาเราอีกทีหนึ่ง ภาพที่เกิดขึ้นเรียกว่า ภาพเสมือน 

 2. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบ 2 บาน วางทำมุมกัน

ถ้านำวัตถุไปวางระหว่างกระจกเงาระนาบสองบานวางทำมุมต่อกัน ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบบานหนึ่งถ้าอยู่หน้าแนวกระจกเงาระนาบอีกบานหนึ่ง ภาพนั้นจะทำหน้าที่เป็นวัตถุ ทำให้เกิดการสะท้อนแสงครั้งที่ 2 เกิดภาพที่สองขึ้น โดยระยะภาพก็ยังคงเท่ากับระยะวัตถุ และถ้าภาพทั้งสองยังอยู่หน้าแนวกระจกเงาระนาบบานแรกอีก ภาพนั้นจะทำหน้าที่เป็นวัตถุในการสะท้อนต่อไปอีกกลับไปกลับมาระหว่างกระจกสองบานจนกว่าภาพที่อยู่หลังแนวกระจก จึงจะไม่มีการสะท้อนทำให้เกิดภาพอีก

การเกิดภาพบนกระจกโค้ง

ชนิดของกระจกโค้ง กระจกโค้งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. กระจกโค้งออกหรือกระจกนูน (Convex mirror) คือกระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงออยู่ด้านนอกของส่วนโค้ง ส่วนผิวด้านเว้าถูกฉาบด้วยปรอท

                
2. กระจกโค้งเข้าหรือกระจกเว้า (Concave mirror) คือ กระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงอยู่ด้านในของส่วนโค้ง ส่วนผิวด้านเว้าถูกฉาบด้วยปรอท


จากภาพ จุด C คือ จุดศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางความโค้งของกระจกด้วย
                   R คือ รัศมีของทรงกลม เรียกว่า รัศมีความโค้งของกระจก
                   P คือ จุดที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของผิวกระจก เรียกว่า ขั้วกระจก


การสะท้อนของแสงจากกระจกเงาโค้ง

1. กระจกนูน คือ กระจกที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่คนละด้านกับจุดศูนย์กลางความโค้ง
           2. กระจกเว้า คือ กระจกที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่ด้านเดียวกับจุดศูนย์กลางความโค้ง
           3. กระจกนูนเป็นกระจกกระจายแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีแสงจะถ่างออกหรือกระจายออก โดยรังสีแสงขนานสะท้อนในทิศที่เสมือนกับมาจากจุดโฟกัสของกระจกนูน
           4. กระจกเว้าเป็นกระจกรวมแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีที่สะท้อนออกจากกระจกจะลู่ไปรวมกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า จุดโฟกัส


ประโยชน์ของกระจกโค้ง
           
           1.กระจกนูน นำมาใช้ประโยชน์โดยติดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อดูรถด้านหลัง ภาพที่เห็นจะอยู่ในกระจกระยะใกล้กว่า เนื่องจากกระจกนูนให้ภาพเสมือนหัวตั้งเล็กกว่าวัตถุเสมอ และช่วยให้เห็นมุมมองของภาพกว้างขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้กระจกนูนยังใช้ติดตั้งบริเวณทางเลี้ยว เพื่อช่วยให้มองเห็นรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมา

            2.กระจกเว้า นำมาใช้ประกอบกับกล้องจุลทรรศน์ เพื่อช่วยรวมแสงไปตกที่แผ่นสไลด์ ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ทำกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทัศน์วิทยุ ทำเตาสุริยะ ทำจานดาวเทียม เพื่อรับสัญญาณโทรทัศน์ ทำจานรับเรดาร์ นอกจากนี้สมบัติอย่างหนึ่งของกระจกเว้าคือ เมื่อนำมาส่องดูวัตถุใกล้ๆ โดยให้ระยะวัตถุน้อยกว่าระยะโฟกัสแล้ว จะได้ภาพเสมือน หัวตั้ง ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ อยู่ข้างหลังกระจก จึงได้นำสมบัติข้อนี้ของกระจกเว้ามาใช้ทำกระจกสำหรับโกนหนวดหรือกระจกแต่งหน้า และใช้ทำกระจกสำหรับทันตแพทย์ใช้ตรวจฟันคนไข้

ความสว่าง

1. อัตราการให้พลังงานแสงของแหล่งกำเนิดแสง

            แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง และทำให้เกิดความสว่างบนพื้นที่ที่แสงตกกระทบ วัตถุที่ผลิตแสงได้ด้วยตัวเอง เรียกว่า แหล่งกำเนิดแสง เช่น ดวงอาทิตย์ เทียนไข และหลอดไฟฟ้า และปริมาณพลังงานแสงที่ส่องออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงใดๆ ต่อ หนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า อัตราการให้พลังงานแสงของแหล่งกำเนิดแสง มีหน่วยเป็น ลูเมน

2. ค่าความสว่าง

            พลังงานแสงที่ทำให้เกิดความสว่างบนพื้นที่ที่รับแสง ถ้าพิจารณาพื้นที่ใดๆ ที่รับแสง ความสว่างบนพื้นที่นั้นหาได้จาก

การมองเห็นวัตถุ


การมองเห็นวัตถุ เกิดจากการที่แสงไปตกกระทบสิ่งต่างๆ แล้วเกิดการสะท้อนเข้าสู่ตาเรา และผ่านเข้ามาในลูกตา ไปทำให้เกิดภาพบนจอ (Retina) ที่อยู่ด้านหลังของลูก ข้อมูลของวัตถุที่มองเห็นจะส่งขึ้นไปสู่สมองตามเส้นประสาท (optic nerve) สมองจะแปลข้อมูลเป็นภาพของวัตถุนั้น



Activities (กิจกรรม)






Teaching methods (วิธีการสอน)
-         สอนแบบถามตอบ
-         สอนแบบบรรยายประกอบภาพ

Applied (การนำไปประยุกต์ใช้)
               จากการเรียนรู้เรื่องแสงและการมองเห็นจากการสืบค้นเองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรม และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
        ได้รู้เรื่องแสงและการมองเห็น       
        - ได้รู้เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ
        - สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ
    

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 4

Study Notes 4
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 11, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.



content (เนื้อหา)

        วันนี้อาจารย์ให้ เพื่อน เลขที่ 1-5 ออกมาพูดบทความ ของตนเอง โดยห้ามซ้ำกับเพื่อน
          เลขที่ 1 บทความเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย
          เลขที่ 2 บทความเรื่อง 5แนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็ก
          เลขที่ 3 บทความเรื่อง อพวช. ผนึกพันธ์มิตรจัดงาน วันนักวิทยาศาสตร์น้อยหวัง    ปลูกความรักวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย
          เลขที่ 4 (ไม่มาเรียน)
          เลขที่ 5 บทความเรื่อง สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน






Teaching methods (วิธีการสอน)
-         สอนแบบถามตอบ
-         สอนแบบบรรยายประกอบภาพ

Applied (การนำไปประยุกต์ใช้)
          สามารถนำไปสอนเด็กและไปพัฒนาต่อได้เช่น การที่สอนเด็กเรื่องทักษะทางวิทยาศาสตร์ ต้องไม่สอนเนื้อหามากจนเกินไป ต้องให้เรียนรู้ตามธรรมมชาติบ้าง

Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)
- ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์
- จากบทความของเพื่อนได้รุถึงหลักสูตรทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น เช่น การสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ต้องห้ามสอนเนื้อหา มากกว่าเรียนรู้ตามธรรมชาติ
- ได้รู้ว่าเมื่ออกไปพูดบทความมีวิธีการพูดอย่างไร








วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

Study Notes 3

Study Notes 3
Science Experiences Management for Early Childhood
Ms. Jintana     suksamran
September 9, 2557
Group 101 (Thursday)
Time  08.30 - 12.20 PM.




Home Work (การบ้าน)


Benefits (ประโยชน์)
               1. ได้รู้เกี่ยวแนวคิดทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
               2. ได้รู้ธรรมชาติของเด็ก วัย 3-5 ปี ว่ามีพฤติกรรมอย่างไรบ้าง
               3. ได้เรียนรู้การสร้าง map เพื่อคิดอย่างเป็นระบบ
               4. ได้รู้พัฒนาการต่างๆของเด็กปฐมวัย